พระพุทธสิหิงค์ วัดพระบรมธาตุฯ หน้าตัก 9 นิ้ว ในหลวงเสด็จเททอง ปี 2517 หมายเลข ๖๓๕ สวยเดิม..
*** พระพุทธสิหิงค์จำลอง...พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ
เสด็จพระราชดำเนินทรงเททองหล่อ ณ มณฑลพิธีหน้าพระวิหารหลวง วัดพระมหาธาตุฯ
เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ.2517 เวลา 11.09 น.
>>> วัตถุประสงค์ในการสร้าง เพื่อมอบเป็นที่ระลึกแก่ผู้บริจาคทรัพย์ในการสร้างอาคารพิพิธภัณฑสถาน
วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.นครศรีธรรมราช
...พระบูชาพระพุทธสิหิงค์ ปี 2517 โดยจำลองมาจากองค์จริงดั้งเดิมแต่โบราณ ที่ประดิษฐานอยู่ในหอพระพุทธสิหิงค์
ศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช ด้านหน้าผ้าทิพย์มีสัญญลักษณ์ นอโม หรือ นโม องค์พระประทับบนกลีบบัวบนฐานสูง
มีการสร้างด้วยกัน 3 ขนาด คือ หน้าตัก 5 นิ้ว 9 นิ้ว และ 12.5 นิ้ว (หรือวัดรวมฐานจะได้ 14 นิ้ว) เท่าที่พบเจอ หมายเลข
จะมีทั้งแบบแกะ และ แบบตอก โดยจะมีปากกาเมจิกเขียนหมายเลขด้วยลายมือเพื่อง่ายต่อการจดจำของช่าง เป็นเนื้อโลหะผสม
(มีส่วนผสมของนวโลหะ) ใต้ฐานมีดินเบ้าหลงเหลืออยู่มากหรือน้อย หรืออาจจะไม่มีเลยก็สุดแท้แต่
แล้วแต่ช่างจะเคาะออกขณะตกแต่งองค์พระ ซึ่งใต้ฐานที่พบเจอจะมีทั้งแบบเป็นดินดำ-แดง หรือปูนผสมทราย (ดินสีขาว)
... จากประวัติการสร้างที่มีการจดบันทึกว่า พระบูชาสร้างจำนวนรวมกันมากพอสมควร สามารถแยกได้เป็น
1. ขนาดหน้าตัก 12.5 นิ้ว สร้าง 700 องค์
2. ขนาดหน้าตัก 9 นิ้ว สร้าง1,800 องค์
3. ขนาดหน้าตัก 5 นิ้ว สร้าง 2,518 องค์
*** สำหรับนวโลหะที่ใช้ในการสร้างพระ พุทธสิหิงค์ครั้งนี้ ประกอบด้วยโลหะ 9 ชนิด ตามตำรับโบราณคือ
1.ทองคำ หนัก 99 บาท 2.เงินบริสุทธิ์ หนัก 199 บาท 3.ตะกั่วบริสุทธิ์ หนัก 999 บาท 4.ทองแดงบริสุทธิ์ หนัก 7,519 บาท
5.ทองอุไร หนัก 909 บาท 6.เหล็กดีผสมเหล็กน้ำพี้ หนัก 99 บาท 7.พลวงธรรมดา พลวงเงิน (นิกเกิ้ล) หนัก 99บาท
8.สังกะสี หนัก 999 บาท 9.ปรอท หนัก 999 บาท
..........ในการประกอบพิธีกรรมนั้น พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช เป็นประธานฝ่ายพิธีกรรม โดยได้กำหนดพิธีพุทธาภิเษกอย่างสมบูรณ์แบบ ดังนี้
1.ฤกษ์หลอมนวโลหะครั้งแรก วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ.2517 เวลา 03.00น. ณ มณฑลพิธีหน้าองค์พระบรมธาตุ วัดพระมหาธาตุฯ
2.ฤกษ์หลอมนวโลหะครั้งที่สอง วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ.2517 เวลา 07.50น. ณ มณฑลพิธีหน้าองค์พระบรมธาตุ วัดพระมหาธาตุฯ
3.ฤกษ์ลงพระยันต์ในแผ่นโลหะ วันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ.2517 เวลา 02.00น. ในพระวิหารหลวง วัดพระมหาธาตฯ
4.ฤกษ์จุดเทียนชัย วันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ.2517 เวลา 14.00น. ในพระวิหารหลวง วัดพระมหาธาตุฯ
5.ฤกษ์ทรงเททองหล่อ วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ.2517 เวลา 11.09น. ณ บริเวณมณฑลพิธีหน้าพระวิหารหลวง วัดพระมหาธาตุฯ
6.ฤกษ์เคลื่อนพระจากมณฑลพิธีสู่มณฑลพิธีปลุกเสก วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ.2517
**พระเกจิอาจารย์ที่ประกอบพิธีพุทธาภิเษก ล้วนเป็นพระเกจิอาจารย์ดังของจังหวัดนครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี
และจังหวัดพัทลุงตั้งแต่วันที่ 24-28 สิงหาคม พ.ศ.2517 มีพิธีเจริญพระพุทธมนต์ปลุกเสกตลอดเวลา
รายนามพระเกจิอาจารย์ที่ประกอบพิธีพุทธาภิเษก
1.พระรัตนธัชมุนี นครศรีธรรมราช
2.พระเทพสารสุธี นครศรีธรมราช
3.พระราชไพศาลมุนี นครศรีธรรมราช
4.พระราชญาณดิลก นครศรีธรรมราช
5.พระราชญาณเวที นครศรีธรรมราช
6.พระพุทธิสารเถร นครศรีธรรมราช
7.พระกิตติวรประสาธน์ นครศรีธรรมราช
8.พระภัทรธรรมธาดา นครศรีธรรมราช
9.พระธรรมปาลาจารย์ นครศรีธรรมราช
10.พระครูปลัดศรีธรรมวัฒน์ นครศรีธรรมราช
11.พระครูพิศาลวิหารธรรม นครศรีธรรมราช
12.พระครูประสาทธรรมวิภัท (หลวงพ่อบุญรักษ์ วัดคงคาวดี) นครศรีธรรมราช
13.พระครูสุรัติวิหารการ นครศรีธรรมราช
14.พระครูปริโชติศาสนกิจ นครศรีธรรมราช
15.พระครูวิสุทธิจารี (หลวงพ่อกล่ำ วัดศาลาบางปู) นครศรีธรรมราช
16.พระครูกาแก้ว นครศรีธรรมราช
17.พระครูปลัดบุญชู นครศรีธรรมราช
18.พระปลัดเจิม นครศรีธรรมราช
19.พระอาจารย์หอม นครศรีธรรมราช
20.พระอาจารย์นำ นครศรีธรรมราช
21.พระอาจารย์นำ แก้วจันทร์ วัดดอนศาลา พัทลุง
22.พระอาจารย์หมุน วัดเขาแดงตะวันตก พัทลุง
23.พระครูพิพัฒน์ พัทลุง
24.พระครูวิรัติพิริยาธร(หลวงพ่อรัช วัดกะเปา) สุราษฎร์ธานี และในการพุทธาภิเษกครั้งถัดมา ได้อาราธนานิมนต์พระมหาเถราจารย์
ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษจากจังหวัดต่างๆมานั่งปรกปลุกเสก เจริญพุทธมนต์อย่างทั่วถึง
มีให้ศึกษาเพื่อประเทืองสติปัญญา ไม่ได้มีเจตนาจะให้เช่าบูชาแต่ประการใดครับ!!
ขอบพระคุณเจ้าของข้อมูลเดิม...โดยอ้างอิงข้อมูลจากหนังสือ มงคลพระราชา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดย คุณยิ่งยอด เยาวนงค์